พระกริ่งคลองตะเคียนถือเป็นพระเครื่องรุ่นแรกของไทยที่มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยเฉพาะในภาวะสงครามช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ทั้งทหารและพลเรือนต่างใช้พระกริ่งนี้เป็นเครื่องรางเพื่อป้องกันตัวจากศาสตราวุธ พระกริ่งคลองตะเคียนมีลักษณะเฉพาะที่ผสานพุทธคุณและพลังไสยศาสตร์
โดยมีการลงอักขระยันต์เพื่อเสริมด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน ซึ่งเป็นแนวคิดคล้ายกับการสร้างกริ่งพระปทุมในกัมพูชา พระเครื่องกับพระพิมพ์มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
พระเครื่องหมายถึงพระพุทธรูปองค์เล็กที่ใช้เป็นเครื่องรางคุ้มครอง ในขณะที่พระพิมพ์ เช่น พระรอด พระนางพญา ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุในกรุ และใช้ในการบำเพ็ญบุญ โดยไม่ได้มีเจตนาสร้างให้ผู้คนใช้ในการป้องกันภัยในทันทีถึงแม้พระกริ่งคลองตะเคียนจะสร้างขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย แต่กลับเป็นพระเครื่องที่มีจุดประสงค์เฉพาะในการให้ผู้คนสวมใส่เพื่อป้องกันตัว
ซึ่งต่างจากพระพิมพ์ในยุคก่อนๆ ที่เน้นการสร้างเพื่อบรรจุในกรุ ทำให้พระกริ่งคลองตะเคียนถูกยกให้เป็นพระเครื่องรุ่นแรกของไทย นอกจากนี้ รูปลักษณ์ กระบวนการสร้าง และความเข้มขลังของพุทธคุณก็เป็นจุดเด่นที่ทำให้พระกริ่งคลองตะเคียนมีความสำคัญเป็นพิเศษในวงการพระเครื่องไทย
ส่วนที่มาของคำว่า พระเครื่อง นั้นมาจากคำว่า พระเครื่องรางนั่นเอง ซึ่งสมัยก่อนถือได้ว่าเป็นวัตถุมงคที่สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ออกรบหรือแม้แต่เจ้าขุนมูลนางก็ยังมาไว้ติดตัว