Shopping Cart

No products in the cart.

หมวดหมู่ จดหมายเหตุพระเกจิ

หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ เจ้าของเหรีญหายาก มีราคา ของสระบุรี

พระศีลวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่บาง จันทสโร ท่านเกิดที่จังหวัดสระบุรี ในวัยเยาว์ หลวงปู่บางได้เข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประชาบาลวัดปากเพรียว และศึกษาต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนศาลาแดงจนจบชั้นมัธยมปีที่ 4 หลังจากนั้นท่านได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนศาลเมืองสระบุรี เมื่ออายุ 18 ปี

หลวงพ่อกร่าย ญาณวโร ผู้เก่งคาถา คงกระพัน เมตตามหานิยม กันไฟ และปัดลมฝน

หลวงพ่อกร่าย ญาณวโร หรือ พระครูญาณวุฒิกร เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงแห่งวัดโพธิ์ศรี ตำบลคลองขนาก อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ท่านเป็นศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ และ หลวงพ่อบุญ วัดสี่ร้อย ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชากรรมฐานและพุทธาคมให้แก่ท่าน ทำให้หลวงพ่อมีวิชาคาถาอาคมแกร่งกล้ามาก

หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม พระดังจังหวัดชัยนาท

หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม พระดังจังหวัดชัยนาท “ร่วมปลุกเสกหลวงปู่ทวดวัดประสาท ฯ พ.ศ.2505-2506” หลวงพ่อกวยได้ศึกษาวิชาอาคม การทำยันต์ เครื่องรางของขลัง โดยได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์พระชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้วิชายันต์ และคาถานะโมตาบอด จากหลวงพ่อศรี อีกหนึ่งวิชาของหลวงพ่อกวยที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง คือการสักยันต์ มีลูกศิษย์ลูกหาเดินทางมาให้หลวงพ่อสักยันต์มากมาย

หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ เกจิชื่อดังแห่งเมือง สุพรรณบุรี

หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะในด้านวิชาอาคมและการพัฒนาวัดดอนเจดีย์ ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2442 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และเมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านถึงได้อุปสมบท ณ วัดท่าช้าง โดยมีพระครูวินัยธรรมเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชแล้ว หลวงพ่อเก็บได้ศึกษาพระธรรมและวิชาอาคมจากครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จนเชี่ยวชาญในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร พระเกจิผู้เสียสละเพื่อพุทธศาสนาและศิษยานุศิษย์

หลวงพ่อเต้า ห้วยหงส์ทอง เกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมจากจังหวัดนครปฐม ท่านเกิดที่จังหวัดนครปฐม มีนามเดิมว่า "เต้า ห้วยหงส์ทอง" เมื่ออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบท ที่วัดตาก้อง โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อสุข ปทุมสุวณฺโณ) วัดห้วยจระเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ตำนานพระหมอ แห่งลุ่มน้ำบางบาล

หลวงพ่อเมี้ยน " แห่งวัดโพธิ์กบเจา ท่านเป็นคนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวัยเด็กท่านสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณ เพราะบิดาของท่านเป็นหมอกลางบ้าน ท่านจึงได้ติดตามบิดาไปช่วยรักษาผู้ป่วยอยู่เสมอ ทำให้มีความรู้ด้านนี้ตั้งแต่เยาว์วัย

หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ พระผู้สร้างตำนานหลวงปู่ทวด

พระครูวิสัยโสภณ หรือที่รู้จักกันในนาม "พระอาจารย์ทิม" แห่งวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี เป็นพระเกจิผู้ทรงคุณธรรมที่เป็นที่เคารพนับถือในภาคใต้ ท่านเกิดที่จังหวัดปัตตานี และได้เริ่มศึกษาธรรมะและหนังสือกับพระครูภัทรกรณ์โกวิท (พระแดง ธมฺมโชโต) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ

หลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง ผู้มีอภิญญาสมาบัติ สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

หลวงปู่โต๊ะ หรือ พระครูปราการกิตติคุณ เดิมชื่อ "โต๊ะ กุหลาบวงศ์" เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2349 ณ ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน โยมบิดาชื่อโพธิ์ และโยมมารดาชื่อปรางค์ บิดาของท่านเคยดำรงตำแหน่งกำนันในพื้นที่

หลวงพ่อลั้ง วัดสัตตหีบ ผู้รักษาโรคด้วยวิชาคาถาอาคม

หลวงพ่อลั้งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนาจอมเทียน จังหวัดชลบุรี โดยมีพระครูวรเวทมุนี หรือหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อลั้งได้รับฉายาทางธรรมว่า "สุทัสสนะ" หลังจากบวชแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสันติธาราวาส และตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนจบนักธรรมชั้นเอก นอกจากการศึกษาเรื่องพระธรรมแล้ว หลวงพ่อลั้งยังได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ การพยากรณ์ชะตาชีวิต และไสยศาสตร์จากหลวงพ่ออี๋ ซึ่งเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งวัดสัตหีบ

หลวงพ่อดูลย์  วัดบูรพาราม หนึ่งในศิษย์อาวุโสรุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่ดูลย์ เกิดที่จังหวัดสุรินทร์ ในวัยเด็กได้อุปชาและเมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านก็อุปสมบท โดยมีพระครูวิมลศีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อศึกษาและสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาท่านได้รู้จักกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และได้ร่วมกันศึกษาธรรมะพร้อมทั้งปฏิบัติตามพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น จนเกิดศรัทธาและตัดสินใจออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความสงบในป่า

วันพระ

เปิดร้านค้า ลงเช่าพระ ประมูลพระ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

มีคนเห็นมากกว่า 100,000 คน! ต่อวัน