พระโพธิจักร แม่ชีบุญเรือน จัดสร้างขึ้นในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ณ.วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร ซึ่งถือเป็นสุดยอดพิธีของปี พ.ศ. 2499 เลี่ยมทองสั่งทำยกซุ้มหนาปึ้กอย่างสวย (ตอกโค๊ตที่ห่วง) สภาพพระสมบูรณ์ทั้งองค์ หน้าตาติดชัด ไม่ผ่านการใช้ มีขนาดสูง 3.5 x 2.6 ซ.ม. (วัดรวมกรอบทองคำที่เลี่ยมแล้ว) มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องเพื่อยืนยันความแท้ และไม่มีหัก ซ่อม หรือตกแต่งเพิ่มเติมใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของร้าน นิว พระเครื่องคือนอกจะแท้แล้ว ยังต้องสวยสมบูรณ์หมดจรดอีกด้วย ท่ามกลางของเก๊ที่เกลื่อนสนามในเวลานี้ครับ
จัดสร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนีซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่น สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้น ๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร
เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเสกนอกจากแม่ชีบุญเรือน วัดอาวุธ และ คณาจารย์หลายท่านเช่น
– พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
– พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
– พระมหารัชชมังคลาจารย์
– หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
– พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)
– หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย)
– พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์
– พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
– พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
– พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น
พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้
๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
๒. ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน ๔ แห่งในอินเดีย คือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุข ๗ แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถานด้วย
๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อย เป็นต้น
ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง
ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ เสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
www.new-amulet.com
แพ็คกล่องกระดาษไดคัท พร้อมวัสดุกันกระแทกอย่างดี ส่ง EMS พร้อมประกันภัยสูญหาย ฟรี ทุกรายการครับ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์